จากการตระเวน รับประทาน บุฟเฟ่ ของ หลายๆ โรงแรม ในกรุงเทพมหานคร
ด้วยงบประมาณจำกัด และ ความคุ้มค่าของราคา
โรงแรมใบหยกสกาย น่าจะเป็นหนึ่งสถานที่สำหรับคุณ ที่จะไปเลือกรับประทานอาหาร
ห้องอาหารแนะนำ คือ Bangkok Sky ซึ่งราคาพอประมาณ และความคุ้มค่าของอาหาร ใช้ได้เลยทีเดียว
มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น และ ฝรั่ง ซึ่งสามารถเลือกรับประทานได้ตามชอบใจ กุ้ง หอย ปู ปลา ซีฟู๊ด มีพร้อม ราคาก็พอสมควร แต่ไม่แพงมาก ค่าน้ำก็รวมแล้ว นับว่า เป็นการทานบุฟเฟ่ที่จุใจ และคุ้มค่าจริงๆ
ต่อมาคือ ชั้น บน Cyrytal Grill ซึ่ง รายการอาหาร น่าจะมีความใกล้เคียงกันกับห้องอาหารบางกอกสกาย แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ น้ำนั้นไม่รวมอยู่ ในรายการบุฟเฟ่
ราคา ก็ ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว
แต่ถ้าให้ผู้เขียนแนะนำ ก็ขอแนะนำชั้นล่าง เพราะราคาถูกและก็คุ้มค่า แต่อาจจะมีผู้คนพลุกพล่าน
ถ้าต้องการความเป็นส่วนตัวและมีกำลังจ่าย ก็ แนะนำเป็นชั้น 82 Crystal Grill เลยครับ
แล้วคราวหลังจะมาอัพเดท ข่าวคราวให้ฟังใหม่อีกนะครับ
วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
การรับเงินประกัน การทำงานเป็นอาจารย์
การเรียกรับเงินประกันการทำงานนั้น เป็นสิทธิ ที่ทาง บริษัทต่างๆ พึงกระทำได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ.. บริษัทต่างๆ มีสิทธิที่จะ ได้รับความคุ้มครอง หากบุคคลดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท
ดัง พรบ คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10
แต่ อาจารย์ มีหน้าที่ทำการสอน อบรม วิจัย พัฒนาความรู้ ไม่ใช่พนักงานในส่วนของ บัญชี การเงิน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ทางโรงเรียน จะเรียกรับเงินประกัน
ทั้งนี้ ยังมี ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 10 ว่า โรงเรียนไม่มีสิทธิเรียกรับเงินประกัน
อีกทั้งบางดรงเรียน ยังมีการทำสัญญาจ้างงานที่สร้างเงื่อนไขในการทำงานเพิ่มเติม เช่นระบุ วันเวลา ของการจ้างงาน โดยตามระเบียบฉบับเดียวกัน ข้อ 8 ระบุว่า โรงเรียนไม่สามารถระบุระยะเวลาการจ้างงานได้ ยกเว้นแต่ อาจารย์ชาวต่างชาติ
บางโรงเรียนเอกชนต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ในการหาเงินเข้าโรงเรียน โดยจัดทำสัญญาในลักษณะดังกล่าว พร้อมทั้งบีบให้อาจารย์ออก ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แล้วก็มาเรียกเก็บเงิน
ดังนั้น ครูโรงเรียนเอกชน ต้องมีสิทธิ ในการเรียกร้อง ความคุ้มครอง เพราะใน พรบ โรงเรียนเอกชน ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 86 ว่า การคุ้มครองควรไม่ต่ำไปกว่ากฏหมายคุ้มครองแรงงาน
จึงเป็นบทเรียนอันดี ให้ผู้ที่จะเข้าทำงานใน โรงเรียน สถานศึกษา ที่เรียกรับเงินประกัน ครู อาจารย์ ได้ตระหนัก และศึกษาให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่ต้องเกิดการสูญเสีย และเสียหายดังกล่าว
ทั้งนี้ ขอประนามสถานศึกษา โรงเรียน ที่กระทำการดังกล่าวจต่อ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการศึกษาและหล่อหลอมเยาวชนของไทย
ขอเทิดทูน สถานศึกษา โรงเรียน ที่ ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ใช้ อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เป็นเครื่องมือ ในการแสวงหารายได้เข้าองค์กรของตน
----------------------------------------------------------------------------------------
สุรเจต ปัณณะวงศ์
ดัง พรบ คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10
แต่ อาจารย์ มีหน้าที่ทำการสอน อบรม วิจัย พัฒนาความรู้ ไม่ใช่พนักงานในส่วนของ บัญชี การเงิน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ทางโรงเรียน จะเรียกรับเงินประกัน
ทั้งนี้ ยังมี ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 10 ว่า โรงเรียนไม่มีสิทธิเรียกรับเงินประกัน
อีกทั้งบางดรงเรียน ยังมีการทำสัญญาจ้างงานที่สร้างเงื่อนไขในการทำงานเพิ่มเติม เช่นระบุ วันเวลา ของการจ้างงาน โดยตามระเบียบฉบับเดียวกัน ข้อ 8 ระบุว่า โรงเรียนไม่สามารถระบุระยะเวลาการจ้างงานได้ ยกเว้นแต่ อาจารย์ชาวต่างชาติ
บางโรงเรียนเอกชนต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ในการหาเงินเข้าโรงเรียน โดยจัดทำสัญญาในลักษณะดังกล่าว พร้อมทั้งบีบให้อาจารย์ออก ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แล้วก็มาเรียกเก็บเงิน
ดังนั้น ครูโรงเรียนเอกชน ต้องมีสิทธิ ในการเรียกร้อง ความคุ้มครอง เพราะใน พรบ โรงเรียนเอกชน ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 86 ว่า การคุ้มครองควรไม่ต่ำไปกว่ากฏหมายคุ้มครองแรงงาน
จึงเป็นบทเรียนอันดี ให้ผู้ที่จะเข้าทำงานใน โรงเรียน สถานศึกษา ที่เรียกรับเงินประกัน ครู อาจารย์ ได้ตระหนัก และศึกษาให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่ต้องเกิดการสูญเสีย และเสียหายดังกล่าว
ทั้งนี้ ขอประนามสถานศึกษา โรงเรียน ที่กระทำการดังกล่าวจต่อ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการศึกษาและหล่อหลอมเยาวชนของไทย
ขอเทิดทูน สถานศึกษา โรงเรียน ที่ ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ใช้ อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เป็นเครื่องมือ ในการแสวงหารายได้เข้าองค์กรของตน
----------------------------------------------------------------------------------------
สุรเจต ปัณณะวงศ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)