การเรียกรับเงินประกันการทำงานนั้น เป็นสิทธิ ที่ทาง บริษัทต่างๆ พึงกระทำได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ.. บริษัทต่างๆ มีสิทธิที่จะ ได้รับความคุ้มครอง หากบุคคลดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท
ดัง พรบ คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10
แต่ อาจารย์ มีหน้าที่ทำการสอน อบรม วิจัย พัฒนาความรู้ ไม่ใช่พนักงานในส่วนของ บัญชี การเงิน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ทางโรงเรียน จะเรียกรับเงินประกัน
ทั้งนี้ ยังมี ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่ และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 10 ว่า โรงเรียนไม่มีสิทธิเรียกรับเงินประกัน
อีกทั้งบางดรงเรียน ยังมีการทำสัญญาจ้างงานที่สร้างเงื่อนไขในการทำงานเพิ่มเติม เช่นระบุ วันเวลา ของการจ้างงาน โดยตามระเบียบฉบับเดียวกัน ข้อ 8 ระบุว่า โรงเรียนไม่สามารถระบุระยะเวลาการจ้างงานได้ ยกเว้นแต่ อาจารย์ชาวต่างชาติ
บางโรงเรียนเอกชนต่างๆ ใช้ช่องทางนี้ในการหาเงินเข้าโรงเรียน โดยจัดทำสัญญาในลักษณะดังกล่าว พร้อมทั้งบีบให้อาจารย์ออก ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แล้วก็มาเรียกเก็บเงิน
ดังนั้น ครูโรงเรียนเอกชน ต้องมีสิทธิ ในการเรียกร้อง ความคุ้มครอง เพราะใน พรบ โรงเรียนเอกชน ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 86 ว่า การคุ้มครองควรไม่ต่ำไปกว่ากฏหมายคุ้มครองแรงงาน
จึงเป็นบทเรียนอันดี ให้ผู้ที่จะเข้าทำงานใน โรงเรียน สถานศึกษา ที่เรียกรับเงินประกัน ครู อาจารย์ ได้ตระหนัก และศึกษาให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่ต้องเกิดการสูญเสีย และเสียหายดังกล่าว
ทั้งนี้ ขอประนามสถานศึกษา โรงเรียน ที่กระทำการดังกล่าวจต่อ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการศึกษาและหล่อหลอมเยาวชนของไทย
ขอเทิดทูน สถานศึกษา โรงเรียน ที่ ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ใช้ อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เป็นเครื่องมือ ในการแสวงหารายได้เข้าองค์กรของตน
----------------------------------------------------------------------------------------
สุรเจต ปัณณะวงศ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น